![]() |
ท้าวเธอทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ
ในภาพที่ ๔๒ จะเห็นพระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าลงบนพระ |
หัตถ์ของพระพุทธเจ้าการหลั่งน้ำในที่นี้เรียกตามภาษาสามัญว่า 'กรวดน้ำ' |
หรือเรียกเป็นคำศัพท์ว่า 'อุททิโสทก' แปลว่า กรวดน้ำมอบถวาย ใช้ในกรณี |
เมื่อถวายของใหญ่โตที่ไม่อาจยกประเคนใส่มือพระได้ เช่น ที่ดินและวัด |
เป็นต้น |
ส่วนการกรวดน้ำของพระเจ้าพิมพิสารในภาพนี้เรียกว่า 'ทักษิโณทก' แปลว่า |
กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแก่คนตาย ใช้ในกรณีเมื่อที่จะมอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ผู้ |
หนึ่งผู้ใด ซึ่งเป็นผู้รับอีกเหมือนกัน ผิดแต่ว่า สิ่งที่ให้มองไม่เห็นตัวตน เพราะ |
vเป็นบุญกุศล ผู้รับก็มองไม่เห็น เพราะเป็นคนที่ตายไปแล้ว พิธีนี้เป็นที่นิยม |
กันอยู่ในเมืองไทยเวลาทำบุญทุกวันนี้ |
ภาพที่เห็นนี้เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลครั้งที่สองของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อ |
ครั้งแรกพระเจ้าพิมพิสารไม่ได้ทรงอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระญาติที่ล่วงลับไป |
แล้ว ปฐมสมโพธิจึงว่าในคืนวันนั้นพวกเปรตซึ่งเคยเป็นพระญาติของพระเจ้า |
พิมพิสารได้ส่งเสียงดังอื้ออึงขึ้นในพระราชนิเวศน์ ที่แสดงกายให้เห็นก็มี |
ตามนิยายธรรมบทเล่าว่า เปรตเหล่านี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เคยลักลอบ |
(หรือจะเรียกอย่างทุกวันนี้ว่าคอรัปชั่นก็ได้) กินของที่คนเขานำมาถวายสงฆ์ |
ตายแล้วตกนรก แล้วมาเป็นเปรต และมาคอยรับส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสาร |
อุทิศให้ แต่เมื่อผิดหวังจึงประท้วงดังกล่าว |
พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันรุ่งขึ้น ทูลถามทราบความ |
แล้ว จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายอาหารและจีวรแก่พระพุทธเจ้าและ |
พระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีกต่อมา แล้วทรงหลั่งน้ำอุททิโสทกว่า อิทัง โน ญาตีนัง |
โหตุ แปลว่า "ขอกุศลผลบุญครั้งนี้จงไปถึงญาติพี่น้องของข้าพเจ้าด้วยเทอญ |
เปรตเหล่านี้จึงต่างได้รับกุศลผลบุญกันทั่วหน้า และพ้นจากความทุกข์ |
ทรมานที่ได้รับอยู่ |
คำว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ" ได้กลายเป็นบทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้คน |
ตายที่คนไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน |
Copyright © 2002 Mahidol
University All rights reserved. |