คณะกรรมการระบบติดตาม ตรวจสอบฯ (ประวัติและความเป็นมา)

ประวัติและความเป็นมา

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก) จัดตั้งขึ้นในปี 2542 จากแนวคิดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกัยของรัฐซึ่งขณะนั้นมี 60แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งพิจารณาเห็นว่าการบริหารงานในรูปแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีหลักการและแนวปฏิบัติที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการ รวมทั้งเป็นรูปแบบใหม่ที่ยังจะต้องร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ระบบบริหารมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าวจึงได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และความชำนาญการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแก้ปัญหาการบริหาร และส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องที่มีความสนใจ ที่ประชุมฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และติดต่อประสานงานในเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายความสนใจร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เข้าร่วมข้อตกลง โดยไม่ก้าวก่ายหรือแทรกแซงกิจการภายในมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง และเพื่อให้ที่ประชุมมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐสามารถดำเนินการได้ ที่ประชุมฯ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินกิจกรรมหรือพิจารณาหารือในเรื่องต่างๆ ออกเป็นเป็น 6 คณะ ได้แก่ คณะทำงานระบบบุคลากร คณะทำงาน Audit Committee คณะทำงานการเงินและงบประมาณ คณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษา คณะทำงานความร่วมมือทางวิชาการ และคณะทำงานที่ประชุมนักกฎหมาย โดยให้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐร่วมกันรับผิดชอบผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ(ทอมก) ในการประชุมครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ได้แต่งตั้งคณะทำงาน Audit Committee สำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทำหน้าที่ประธานและเลขานุการที่ประชุม ต่อมาได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 ได้มีมติเห็นชอบให้ เปลี่ยนชื่อเป็น คณะทำงานในคณะกรรมการระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีคำสั่งที่5/2555 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 แต่งตั้งคณะทำงาน 2 คณะ ได้แก่ คณะทำงานมาตรฐานระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน และคณะทำงานด้านวิชาการ โดยมีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทำหน้าที่ประธานและเลขานุการที่ประชุม และในการประชุมครั้งที่ 6/2556 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะทำงาน เป็น คณะกรรมการ ตามคำสั่งที่ 7/2556 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2556 แต่งตั้งคณะกรรมการระบบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน มีมหาวิทยาลัยสมาชิกร่วมเป็นกรรมการ 14 มหาวิทยาลัย/สถาบัน ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยทักษิณ
2. มหาวิทยาลัยมหิดล
3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
7. มหาวิทยาลัยบูรพา
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
10. มหาวิทยาลัยพะเยา
11. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
12. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลวกรณราชวิทยาลัย
13. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
14. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โดยมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันสร้างระบบติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน พร้อมจัดทำคู่มือที่เป็นระบบกลางที่มหาวิทยาลัยสมาชิกทุกแห่งสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยของตนได้ ในการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะกรรมการระบบติดตามฯ ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฯ เป็นประจำพร้อมจัดกิจกรรมในรูปโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเสริมศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติ

WordPress theme: Kippis 1.15